วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

“ การวิจัยเพื่อพัฒนา ”


รายงานการฝึกอบรมสัมมนา

   การวิจัยเพื่อพัฒนา

ระหว่างวันที่ 2๗ ๒๘ เมษายน 2554

ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

          ตามที่ข้าพเจ้านายวิไล  พลเสนา  ตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย ได้รับคำสั่งจากสำนักการศึกษา  กรุงเทพมหานคร ให้เข้าร่วมการอบรมสัมมนา ตามโครงการอบรมหลักสูตรการวิจัยเพื่อพัฒนา ระหว่างวันที่ 2๗

2๘ เมษายน 2554  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร   นั้น บัดนี้การอบรมสัมมนาได้เสร็จสิ้นลงแล้วข้าพเจ้าขอรายงานการเข้ารับการอบรม ดังนี้

สรุปเนื้อหาการอบรม

  วิทยากร : ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช  จันทรศร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

               รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์  พลอยดนัย  มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาเลศพย์  สำนักงานเขตพื

                   เนื้อหาในการจัดการอบรมในครั้งนี้   ดังนี้ 

                    ๑. หลักการวิจัยเบื้องต้น

                    ๒. การวิจัยในชั้นเรียนและการออกแบบการวิจัยในชั้นเรียน

                    ๓. การเขียนรายงานการวิจัย ๕ บท

                    4. ฝึกปฏิบัติการเขียนหัวข้อปัญหาเพื่อทำการวิจัยในชั้นเรียน

                    5. ฝึกปฏิบัติการวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อ ความสำเร็จของนักเรียน กทม.และปัจจัยที่มีผลต่อควมสำเร็จ

                         ของนักเรียน กทม.

                   เอกสารที่ได้รับจากการอบรม

          ๑. เอกสารประกอบการอบรม  เรื่อง หลักการวิจัยเบื้องต้น  จำนวน 1 ชุด

          2. เอกสารการวิจัยในชั้นเรียน  จำนวน 1 ชุด

          ๓. เอกสารการออกแบบการวิจัยในชั้นเรียน จำนวน ๑ ชุด

          ๔. เอกสารการเขียนรายงานการวิจัย  จำนวน    ชุด

          ๕. เอกสารตัวอย่างงานวิจัยที่มีคุณภาพ  จำนวน    ชุด

ความรู้ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรมในครั้งนี้

          ด้านความรู้   ได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ดีมากจกการอบรม ดังนี้

                   ๑. หลักการวิจัยเบื้องต้น

                    ๒. การวิจัยในชั้นเรียนและการออกแบบการวิจัยในชั้นเรียน

                    ๓. การเขียนรายงานการวิจัย ๕ บท

                   4. ประสบการณ์ฝึกปฏิบัติการเขียนหัวข้อปัญหาเพื่อทำการวิจัยในชั้นเรียน

                   5. ประสบการณ์ฝึกปฏิบัติการวิจัยเกี่ยวกับหัวข้อ ความสำเร็จของนักเรียน กทม.และปัจจัยที่มีผล

                     ต่อความสำเร็จของนักเรียน กทม.

          ด้านวิทยากร  วิทยากรเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อที่บรรยาย  บรรยายได้น่าสนใจตลอดและมีความเข้มงวดระหว่างการอบรมด้วย และที่สำคัญที่สุดผู้เข้ารับการอบรมทุกคนรู้สึกซาบซึ้งและขอบพระคุณท่านวิทยากรที่มาให้ความรู้

          ด้านสถานที่  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันททา ตั้งอยู่ในเขตดุสิต ถือว่าห่างไกลจากเขตประเวศและสภาพการจราจรก็ติดขัด ทำให้การเดินทางเข้ารับการอบรมไม่สะดวกเท่าที่ควร ถือว่าด้านสถานที่มีความไม่เหมาะสมด้านการเดินทาง

          ด้านอาหาร  การรับประทานอาหารเป็นรูปแบบการรับประทานอาหารแบบบริการตัวเองและอาหารรสชาติอร่อยมาก      

          ด้านเวลาการจัดอบรม  การจัดอบรมในครั้งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้นจำนวน ๒ วัน ถือว่าน้อยไป เพราะจากเนื้อหาที่รับการอบรมนั้นเป็นเนื้อหาที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างดีถึงจะนำมาปฏิบัติได้  ดังดั้นจึงควรจัดอบรมให้มีเวลาฝึกปฏิบัติด้วยถึงจะเหมาะกับเนื้อหา

                            

สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมจะนำมาปฏิบัติหลังจากการฝึกอบรม

๑. สำรวจปัญหาของนักเรียนในห้องเรียนเพื่อมาดำเนินการวิจัย

          ๒. ดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนให้มีคุณภาพเพื่อประโยชน์แก่นักเรียน

          ๓.  ออกแบบการวิจัยที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของนักเรียน

          ๔.  ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับนักเรียนทุกกลุ่ม

          ๕.  ศึกษาและออกแบบการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนที่หลากหลาย

          ๖.   สร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อนักเรียน ผู้ปกครองและเพื่อนร่วมงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย  

๗.   เน้นการสอนที่ให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ให้เป็น

          ๘.  ปฏิบัติงานอย่างเต็มใจและเต็มความสามารถให้เกิดประโยชน์กับทางราชการให้มากที่สุด

          ๙.   ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด

         

                   ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการวชิรา  สร้อยนาค  ผู้อำนวยการโรงเรียนสุเหร่าศาลาลอยที่อนุญาตให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้รับความรู้ในครั้งนี้  ขอขอบคุณท่านวิทยากรที่ให้ความรู้     ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับโอกาสที่ดีแบบนี้อีกครั้ง 

 

 ลงชื่อ                                 
          ( นายวิไล    พลเสนา )
            ตำแหน่ง  ครูผู้ช่วย
    ................/............................../............................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น